ประวัติชุมชน/ที่ตั้งชุมชน
ณ เกาะโหลนที่สวยงามมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ แต่เดิมทีนั้นไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยป่าที่สมบูรณ์ จนเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ได้มีชาวสตูลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้เดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้และได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ จากนั้นก็มีคนเห็นว่ามีผู้อยู่อาศัยจึงตามกันมาเพื่อตั้งถิ่นฐาน ณ เกาะแห่งนี้ จนในที่สุดก็เกิดเป็นชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ ขึ้น โดยกว่า 80% นับถือศาสนาอิสลามและ 20% นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเอกลักษณ์ของที่นี่ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายตามวิถีชาวประมงที่ผูกพันกับท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่ผสานกับชาวพุทธและอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยังอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นของดีคือผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะที่มีการเพ้นท์ออกมาอย่างสวยงาม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวต้องติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของวิสาหกิจชุมชนตําบลราไวย์เกาะโหลน ที่ผสานรวมตัว ก่อให้เกิดพลังและความสามัคคีจนกลายเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความเข้มแข็งไม่แพ้ชุมชนไหน ๆ
ที่ตั้งชุมชน : หมู่ 4 ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
จำนวนประชากร
- ประชากรทั้งหมด 17,176 คน : ชาย 8,090 คน หญิง 9,086 คน
อาชีพหลัก
- เกษตรกรรม
- การประมง
- วิ่งเรือ
วัฒนธรรมประเพณี / เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ชุมชน
- ชาติพันธุ์ไทยมุสลิม
- การแต่งกายแบบชาวมุสลิมและผ้าปาเต๊ะ
- ประเพณีชาวมุสลิม
- ประเพณีลอยเรือชาวเล
- วิถีชาวประมง
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
- ผ้าบาติก
- ของทะเลสด
- ของทะเลแปรรูป
- น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน
- น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
- ไม้กวาดทางมะพร้าว
- ผักเหนียง