ประวัติชุมชน/ที่ตั้งชุมชน
มีเรื่องเล่าเก่าแก่ในอดีตที่ผู้เฒ่าผู้แก่คนผู้ไทยได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านผู้ไทยโคกโก่งแห่งนี้นั่นคือย้อนไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 ได้มีชาวบ้านคำเฮ้ ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ได้อพยพมา 2 ครัวเรือน จำนวน 19 คน นำโดยนายอุปชัยเพื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณทิศตะวันออกของบ้านโคกโก่งปัจจุบันและตั้งชื่อว่า “บ้านทุ่งบักเฒ่า” จากนั้นอีกประมาณ 2 ปีต่อมาได้มีชนเผ่ากุลาอพยพมาตั้งถิ่นฐานด้วยและมีการนำฝิ่นเข้ามา โดยชนเผ่ากุลามีนิสัยอันธพาล ปล้นจี้และสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน จากนั้นชาวบ้านจึงย้ายกลับไปอยู่บ้านคำเฮ้ ส่วนชนเผ่ากุลาก็ได้ถูกปราบปรามไปในที่สุด จากนั้นพอถึงปี พ.ศ. 2449 ชาวบ้านคำเฮ้ก็ได้รวบรวมพรรคพวกกลับมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านทุ่งบักเฒ่าอีกครั้ง โดยมีการตั้งชื่อใหม่ว่าบ้านโคกโก่ง แต่อยู่ดี ๆ ก็มีคนในหมู่บ้านล้มป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุเลยเปลี่ยนที่อยู่จากทิศตะวันออกของหมู่บ้านมาเป็นทิศเหนือของหมู่บ้านดังเช่นในปัจจุบัน นับแต่นั้นชาวบ้านโคกโก่งก็คือชาวผู้ไทยที่ยังคงรักษาประเพณีพื้นถิ่นเอาไว้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ทั้งภาษา การแต่งกาย อาหาร ประเพณีและวัฒนธรรม
ที่ตั้งชุมชน : หมู่ 5 ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
จำนวนประชากร
- 130 ครัวเรือน
- ประชากรทั้งหมด 542 คน : ชาย 281 คน หญิง 261 คน
อาชีพหลัก
- เกษตรกรรม
อาชีพรอง
- ทอผ้า
- เลี้ยงสัตว์
- จักสาน
วัฒนธรรมประเพณี / เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ชุมชน
- ชาติพันธุ์ผู้ไทย
- การแต่งกายชุดผู้ไทย
- พิธีเหยา
- พิธีเลี้ยงผีบ้าน
- พิธีเลี้ยงเจ้าปู่ตา
- ประเพณีการลงข่วง
- วิถีชีวิตชาวผู้ไทย
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
- ผ้าลายขิด
- ผ้าขาวม้า
- ผ้าถุง
- เสื้อเย็บมือ