ประวัติชุมชน/ที่ตั้งชุมชน
ในสมัยที่มีหัวเมืองไชยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง ขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา (ก่อน พ.ศ. 2439) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (ร.5) ทรงเสด็จไปบ้านดอน (ทางเรือ) แล้วเจอกับพายุฝน จึงทรงเสด็จไปตามคลองสายนี้ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นคลองลัด จึงได้เรียกชื่อคลองสายนี้ว่า “คลองลัด” ชาวบ้านในคลองลัด มีอาชีพทำไร่ข้าว จึงมีชาวจีนล่องเรือมารับซื้อข้าวอยู่เป็นประจำ ชาวจีนจึงเรียก คลองลัด เพี้ยนไปเป็น คลองเล็ด จนถึงปี พ.ศ. 2445 มีการตั้งเป็นตำบลลีเล็ด มีขุนลีเล็ดลัทธกิจ (นาค ธดากุล) เป็นกำนันคนแรก แต่เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ข้าวปนกับสวนมะพร้าว เริ่มหันมาทำนา การทำไร่จึงหมดไปในช่วงนี้ ส่วนในคลองชาวบ้านไม่กล้าลงไปหาปลา เพราะมีจระเข้ชุกชุมมาก ชาวบ้านที่อยู่ริมคลองต้องใช้ไม้กั้นเป็นคอก เพื่อลงไปอาบน้ำ ต่อมาไม่นานมีพวกแขกมารับซื้อจระเข้ ชาวบ้านจับจระเข้ขายจนหมด ในที่สุดก็สูญพันธุ์ เมื่อในคลองไม่มีจระเข้ชาวบ้านก็เริ่มหันมาทำอาชีพประมงพื้นบ้าน พื้นที่ที่เป็นนาข้าวกลายเป็นสวนมะพร้าว จนมาถึงปัจจุบัน อาชีพที่สำคัญของชาวลีเล็ดก็คือ การทำประมงกับสวนมะพร้าว
ที่ตั้งชุมชน : กลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ 109 หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
จำนวนประชากร
- 1,300 ครัวเรือน
- ประชากรทั้งหมด 4,250 คน : ชาย 2,150 คน หญิง 2,100 คน
อาชีพหลัก
- สวนมะพร้าว
- สวนปาล์มน้ำมัน
อาชีพรอง
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ประมงพื้นบ้าน
- ค้าขาย
วัฒนธรรมประเพณี / เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ชุมชน
- ประเพณีสวดหมู่บ้าน จบปี จบเดือน
- ประเพณีวันสวดคลอง
- ประเพณีงานชักพระ-ทอดผ้าป่า
- วิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
- ของทะเลสด
- กะปิกุ้ง
- เครื่องจักสาน